วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

เตาอบไมโครเวฟ









ประวัติ
แนวความคิดในการใช้ คลื่นไมโครเวฟ ในการให้ความร้อนแก่อาหารนี้ ค้นพบโดย เพอร์ซี สเปนเซอร์ (Percy Spencer) ซึ่งทำงานที่บริษัทเรธีออน (Raytheon) ในขณะกำลังสร้าง แมกนีตรอนสำหรับใช้ในระบบเรดาห์ วันหนึ่งในขณะที่เขากำลังทำงานอยู่กับเรดาห์ที่กำลังทำงานอยู่ เขาได้สังเกตเห็นแท่งช็อกโกแลต ในกระเป๋าเสื้อของละลาย อาหารชนิดแรกที่อบโดยตู้อบไมโครเวฟ คือ ข้าวโพดคั่ว และ ชนิดที่สองคือ ไข่ ซึ่งเกิดระเบิดขึ้นในขณะทำการทดลองอบ
ในปี ค.ศ. 1946 เรธีออน ได้จดสิทธิบัตรกระบวนการใช้คลื่นไมโครเวฟในการอบอาหาร ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 เรธีออกก็ได้ผลิตเตาอบไมโครเวฟเครื่องแรก เพื่อการพาณิชย์ ชื่อ Radarange ซึ่งมีขนาดใหญ่ สูงถึง 6 ฟุต (1.8 เมตร) และ หนัก 750 ปอนด์ (340 กิโลกรัม) โดยใช้น้ำเป็นระบบระบายความร้อน และ ให้กำลัง 3000 วัตต์ ซึ่งสูงกว่าเตาอบไมโครเวฟที่เราใช้กันทุกวันนี้ ถึง 3 เท่า การประดิษฐ์นี้ประสบความสำเร็จทางการตลาดมากจนในที่สุด เรธีออนได้ซื้อบริษัท อมานา (Amana) เพื่อทำการผลิต ผลิตภัณฑ์ชุดอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนอื่นๆ
มีบริษัทอื่นๆ อีกมากเริ่มผลิตเตาอบไมโครเวฟนี้ ออกสู่ตลาด ซึ่งในช่วงแรกนี้ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ทำงานทางด้านการทหาร เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีความชำนาญทางด้าน แมกนีตรอน ในช่วงปี ค.ศ. 1970 เทคโนโลยีทางด้านนี้ได้พัฒนาไปมากจนกระทั่ง ราคาของเตาอบไมโครเวฟนี้ตกลงอย่างรวดเร็ว และ เตาอบไมโครเวฟ ก็ได้กลายมาเป็นอุปกรณ์หลักหนึ่งในครัวเรือน

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

พัดลมไอน้ำ (fan fogger หรือ mist fan)









เป็นพัดลมที่พ่นหมอกหรือไอน้ำ มีทั้งใช้ภายนอกอาคาร และภายในอาคาร
พัดลมไอน้ำสามารถดัดแปลงเป็นรางพ่นไอน้ำ และ ในการลดค่าสาร แอมโมเนีย ในอากาศ ลดไฟฟ้าสถิตย์ในงานสิ่งทอ

 ระบบการทำงาน

 ปั๊มแรงดันสูง

การสร้างละอองหมอกด้วย ปั๊มแรงดันสูง (high pressure pump)และหัวพ่นหมอก (Mist Nozzle) ใช้หลักการจ่ายน้ำผ่านรูขนาดเล็กมากๆ เพื่อให้หยดน้ำที่พ่นออกมามีการแตกตัวเป็นอณูเล็กๆ (Atomization) ซึ่งปั๊มแรงดันสูงที่ใช้มีแรงดันตั้งแต่ 35 บาร์ขึ้นไปจนถึง 3000 บาร์ หรือ 43511.321 PSI แต่แรงดันที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมใช้สำหรับระบบพัดลมไอน้ำ คือ 70 บาร์ หรือ 1,000 PSI ส่วนการเลือกอัตราการไหลของปั๊มที่จะใช้ ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น จำนวนของหัวพ่นหมอกในระบบ และความยาวรวมของท่อทางในระบบ เป็นหลัก
หัวพ่นหมอก (Mist Nozzle) ที่นิยมใช้กันมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรูพ่น (Orifice)ตั้งแต่ 0.1 - 0.4 mm รูพ่นที่มีขนาดเล็กนี้ ผลิตโดยวิธีการใช้เลเซอร์ยิง ทำให้สามารถเจาะรูที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมถึง 10 เท่า หัวพ่นหมอกได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่มีแค่ระบบกันหยด (มีสปริงทำหน้าที่เป็นตัวเชควาล์ว กันน้ำหยดในตัวของ nozzle) ปัจจุบันมีระบบไส้กรองภายใน ระบบถอดทำความสะอาดง่าย และอื่นๆ หัวพ่นหมอกเป็นนาโนเทคโนโลยีชนิดหนึ่ง เมื่อจ่ายน้ำที่มีแรงดันสูงผ่าน จะทำให้เกิดละอองน้ำขนาด 5 ไมครอน ซึ่งเล็กมาก ทำให้สามารถระเหยได้โดยฉับพลัน (Flash Evaporation) ในกระบวนการระเหยนี้ ละอองหมอกจะดูดซับเอาความร้อนจากอากาศรอบตัว ทำให้อุณหภูมิของอากาศลดลง เรายังสามารถเพิ่มอัตราการระเหยได้ด้วยการเพิ่มพัดลม ทำให้ส่งไอน้ำได้ไกลขึ้นไปอีกด้วยแรงลมจากพัดลม พัดลมไอน้ำเริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2545
กดักีแอ ทืทื่แพะท้เทื

การใช้พัดลมไอน้ำ

การใช้พัดลมไอน้ำที่ถูกต้อง ควรใช้ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ว่าในร่มหรือกลางแจ้ง ถ้าอากาศถ่ายเทไม่ดี จะทำให้ไอน้ำจับตัวเป็นหยดน้ำได้ ในขณะที่มีความชื้นในอากาศมาก เช่นก่อนฝนตก แต่ถ้ามีพัดลมช่วยจะทำให้โอกาสจับตัวเป็นหยดน้ำเป็นไปได้ยาก ระยะจับตัวของพัดลมไอน้ำทั่วไปจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.8 M จากการทดลองที่หลากหลายระดับ pressure
พัดลมไอน้ำเป็นระบบกึ่งปิด ไม่ใช่ระบบปิดแบบแอร์ หรือระบบเปิด แบบปั๊มจ่ายน้ำแรงดันต่ำ จึงไม่สามารถคำนวณหัวพ่นได้จาก cc ของหัวพ่นได้เป็นมาตรฐานตายตัว ขึ้นอยู่กับความสามารถของปั๊มชนิดนั้นๆ ปัจจุบันได้นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายจากไอน้ำ เช่นลดไฟฟ้าสถิตย์ และลดอุณหภูมิของคอนเดนเซอร์ของแอร์ ซึ่งทำให้ประหยัดไฟมากกว่าเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 ถึง 4 เท่า

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

เครื่องคิดเลข

















 เป็นเครื่องมือกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยมนุษย์คำนวณและแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ให้ได้คำตอบอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์และการทำงานบันทึกอยู่ภายใน เครื่องคิดเลขได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันเครื่องคิดเลขมีความสามารถสูงมาก สามารถทำกราฟ คิดสูตรตรีโกณมิติ ได้


     ในอดีตยังไม่มีความรู้เรื่องอิเล็กทรอนิคส์ มีการใช้เครื่องมือกลคำนวณตัวเลขต่างๆ เช่นในประเทศจีน จะมีการใช้ลูกคิด ส่วนทางตะวันตกซึ่งมีความเจริญทางคณิตศาสตร์มากก็จะมี abaci, comptometers, Napier's bones, slide rules และอื่นๆอีกมากมาย


     โดยทั่วไปเครื่องคิดเลขธรรมดาก็จะประกอบด้วย


1. แหล่งพลังงาน ปกติจะเป็นถ่านไฟฉาย หรือบางเครื่องอาจจะมีเซลสุริยะ(Solar cell) ด้วย
2. จอแสดงผล ซึ่งปกติมักจะเป็น หลอด LED หรือ จอคริสตอลเหลว (Liquid crystal: LCD) ใช้แสดงตัวเลขที่คำนวณ มีทั้ง 8 หลัก, 10 หลัก หรือ 12 หลัก
3. วงจรอิเล็กทรอนิกส์
4. ปุ่มกดสำหรับใส่ตัวเลข และคำสั่ง


วิวัฒนาการของเครื่องคิดเลข     เมื่อมนุษย์รู้จักการคิด รู้จักการนับ ก็เริ่มมีความพยายามหาวิธีการ  ในการนับของตัวเอง โดยครั้งแรกก็ใช้นิ้วมือช่วยในการนับ เมื่อนิ้วมือเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอสำหรับการนับ ก็พยายามคิดหาอุปกรณ์อย่างอื่น มาแทน โดยเริ่มนับก้อนหิน ก้อนกรวด ปมเชือก เปลือกหอย
  
    ต่อมาความคิดของมนุษย์ก็มีพัฒนาการขึ้น  รู้จักคิดในสิ่งที่ยากและซับซ้อนการนับมากและต่อเนื่องขึ้น เขาจึงหาวิธีที่จะทำการรวบรวมการนับของเขาไว้ด้วยกัน ก็หาวิธีใหม่โดยการใช้วิธีการจดบันทึกสิ่งของ แรกเริ่มโดยการขีดบนพื้นดิน ต่อมาก็ใช้บันทึกลงบนกระดาษ

   เมื่อมนุษย์ มีความต้องการด้านการคำนวณมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำมาช่วยในการนับและการคำนวณ และเมื่อประมาณ 2600 ปี ก่อนคริตศักราช มีชาวจีน ได้ประดิษฐ์เครื่องมือการนับ ซึ่งถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรก เรียกว่า ลูกคิด (Soroban or Abarcus) เพื่อใช้ในการคำนวณที่ค่อนข้างง่าย และลูกคิดยังเป็นเครื่องคิดเลขที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของลูกคิดนั้น ใช้วิธีการนับ ซึ่งเป็นพื้นฐานของ คอมพิวเตอร์ดิจิตอล (Digital Computer) แต่ลูกคิดยังมีข้อเสีย คือ ไม่สามารถบันทึกการคำนวณเอาไว้ตรวจสอบไม่ได้ มนุษย์จึงพยายามหาวิธีการผ่อนแรง ด้วยการสร้างเครื่องมือคำนวณ ชนิดต่างๆ ขึ้นต่อไป

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นอุปกรณ์สำนักงานอย่างหนึ่งซึ่งใช้ในการสำเนาเอกสาร โดยการใช้ความร้อน หรือหลักไฟฟ้าสถิต ในการอ่านเอกสารต้นฉบับและ พิมพ์เอกสารอีกฉบับออกมาเครื่องถ่ายเอกสารระบบไฟฟ้าสถิต











เครื่องถ่ายเอกสารระบบไฟฟ้าสถิต เป็นกระบวนการถ่ายเอกสารแบบใช้กระดาษเคลือบ ซึ่งใช้ประจุไฟฟ้าลบในการถ่ายทอดภาพจากต้นฉบับ เช่นเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารแบบใช้กระดาษธรรมดา แต่กระบวนการของระบบไฟฟ้าสถิต ใช้วัสดุและเทคนิคคล้ายกับการอัดรูปถ่าย กล่าวคือ เริ่มต้นด้วยการทำให้กระดาษเคลือบมีประจุไฟฟ้าลบ แล้วปล่อยให้กระดาษเคลือบสัมผัส กับลำแสงที่สะท้อนมาจากต้นฉบับ จากนั้นผ่านกระดาษลงในสารละลายออกและเป่าให้แห้งด้วยอากาศร้อนก่อนออกจากเครื่อง กระดาษเคลือบเป็นกระดาษที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษ หน้ากระดาษด้านที่สัมผัสกับแสงเคลือบด้วยซิงค์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่มีความไวต่อแสง ส่วนด้านหลังกระดาษเคลือบด้วยสารละลายเรซินซึ่งจะอุดรูพรุนของกระดาษ ทำให้กระดาษ ไม่ดูดซับของเหลวเมื่อถูกจุ่มลงในสารละลาย เนื่องจากกระดาษมีความไวต่อแสง ดังนั้น จึงต้องป้องกันไม่ให้ถูกแสง นอกจากในช่วงเวลาที่ถ่ายเอกสารเท่านั้น

 เครื่องถ่ายเอกสารระบบสอดสี

เครื่องถ่ายเอกสารนี้ สามารถให้ภาพสีบนกระดาษธรรมดา โดยการผสมกันของผงหมึกแม่สี 3 สี คือ สีเหลือง (Yellow) , สีฟ้า (Cyan) , และสีแดง (Magenta) การผสมกันของ ผงหมึกแม่สีทั้งสามสี จะได้สีเขียว (Green) , สีแดง (Red) , สีน้ำเงิน (Blue) และสีดำ (Black) เพิ่มขึ้นมา รวมเป็นสีทั้ง หมด 7 สีด้วยกัน กระบวนการถ่ายเอกสารมีความเร็วมาก การถ่ายเอกสารที่ใช้สีครบเต็มอัตรา ใช้เวลาประมาณ 33 วินาที สำหรับแผ่นแรกและหากใช้ต้นฉบับเดิม แผ่นต่อ ๆ มาจะใช้เวลาแผ่นละประมาณ 18 วินาทีเท่านั้น และหากเลือกจำนวนสีน้อยลง กระบวนการถ่ายเอกสารก็จะยิ่งใช้เวลาน้อยกว่าเดิมอีก บนแผงหน้าปัด ของเครื่องถ่ายเอกสารจะมีปุ่มสำหรับเลือกจำนวนสีและความเข้มที่ต้องการ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

เครื่องพิมพ์ (Printer)









หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำให้หัวร่อมิได้ร่ำไห้มิออก บางคนเรียก
ตัวกินกระดาษ


โครงสร้างสำคัญของพรินเตอร์มีเพียง 3 ส่วน คือ
หนึ่ง ฝาครอบ
สอง ช่องป้อนกระดาษที่ติดขัดตลอดปี
สาม ไฟกะพริบสีแดงบอกว่าเครื่องพิมพ์ขัดข้องตลอดปีเช่นกัน


นิสัยเฉพาะของพรินเตอร์คือ ไม่ชอบพิมพ์สิ่งที่สั่งให้พิมพ์
แต่ดันชอบพิมพ์สิ่งที่เราไม่ได้สั่งให้พิมพ์ และดื้อด้าน
ไม่ยอมหยุดเมื่อเราสั่งให้มันหยุด


คู่มือการใช้เครื่อง (Reference Manual)


วัตถุหนา เหมาะที่จะใช้รองใต้จอมอนิเตอร์
เพื่อยกจอให้อยู่ระดับสายตา
ภาษาที่ใช้เขียนคู่มือ นิยมใช้ภาษาบาลีและขอม
จึงต้องศึกษาทางธรรมมากๆจะได้ไม่คลุ้มคลั่งเวลาอ่าน